" T-POP " คืออะไร แล้ววงการเพลงไทย เปลี่ยนแปลงแค่ไหน

Last updated: 24 Sep 2022  |  1503 Views  | 

" T-POP " คืออะไร แล้ววงการเพลงไทย เปลี่ยนแปลงแค่ไหน

" ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก " ไม่ว่าจะยุคต่าง ๆ ปีใด เสียงเพลง เสียงดนตรีก็อยู่คู่กับมนุษย์ เพราะมันเป็นสิ่งหนึ่งที่เยียวยา จิตใจของมนุษย์ได้ แต่กว่าที่จะมาเป็นเพลงที่ฮิต หรือได้รับความนิยม ต้องผ่านหลายสิ่ง หลายอย่าง จนกลายมาเป็นแนวเพลง POP และได้รับความนิยมในหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทย ไม่ว่าจะเปิดผ่าน Social Media , Music Streaming Appication , หรือ Platforms อื่น ๆ จะต้องมีเพลง T-POP สักเพลง หลายคนให้ความสนใจในแนวเพลง POP ไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศ จนเป็นกระแสต่าง ๆ รวมถึงความนิยมที่หลากหลายค่ายเพลง ต้องมีการปลุกปั้นเดบิวต์ไอดอล , Girl Group , Boy Band , Band , Duo , หรือศิลปินเดี่ยว เพื่อตามกระแสโลก

แล้ว T-POP คืออะไร ? เปลี่ยนแปลงไปมากแค่ไหน

T-POP คือเพลงที่มาจากประเทศไทย ซึ่งตัว T มาจาก Thailand ส่วน POP นั้นยังไม่สามารถระบุได้ ว่ามาจากคำว่า Popular = ความนิยม หรือมาจากเเนวเพลงป๊อป เพราะ T-POP มีทั้ง Rock , Dance , Rap ผสมผสานอยู่ในเพลง

ขอย้อนกลับไปในยุค 60s ในช่วงนั้นการเดินทางของวัฒนธรรม วัฒนธรรมเริ่มแผ่ขยายวงกว้าง ประเทศไทยก็ได้รับวัฒนธรรมมากมาย ผ่านการทูตระหว่างประเทศ และกลุ่มนักเรียนนอก ในปีนั้นเราจะฟังเพลงจากต่างประเทศเป็นหลัก หรือการนำเพลงต่างประเทศ มาใส่เนื้อเพลงไทย ก็เป็นวัฒนธรรมปกติในการทำเพลง ให้เข้าถึงคนไทยในยุคนั้น

แต่มาถึงในยุค 80s ทางเลือกของการฟังเพลงไทยนั้นมีหลากหลายมากยิ่งขึ้น ทำให้เพลงไทยกลายเป็นกระแสหลัก มีทั้งค่ายเพลง EMI (เป็นค่ายเพลงต่างประเทศ) ส่วนฝั่งค่ายไทยที่ได้รับความนิยมในช่วงแรก ก็คือ นิติทัศน์ ที่เห็นได้ชัดและชัดเจนที่จุด ก็คือ การเกิดขึ้นของ 2 ค่ายเพลง GMM Grammy และ RS อุตสาหกรรมเพลงเริ่มเข้าสู่ธุรกิจแบบจริงจัง เราจะเห็นโฆษณาตามหนังสือพิมพ์ เป็นเรื่องปกติ โดยการประชัน ของ 2 ค่ายเพลงในยุคนั้น ทำให้เกิดปรากฏการณ์ "ล้านตลับ" โดยการที่จะขายได้ล้านตลับ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย อันนี้คือคนเดินออกไปซื้อเทปของศิลปิน โดยศิลปินที่ได้ยอดขายล้านตลับ ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่เลยทีเดียว สมัยนั้น RS เพลงแนว Pop Dance ที่ติดหูวัยรุ่นในยุคนั้น

ยุค 90s เป็นยุคที่ค่าย RS และค่าย Gmm Grammy แทบจะครองเมือง ก็เกิดค่ายเพลงเล็ก ๆ Bakery Music ขึ้นมา โดยในสมัยนั้น ค่าย Bakery Music เป็นค่ายที่เด็ก ๆ ชอบ สมัยนั้น ไม่ได้มี Rock ที่แหวกแนวแค่เพียงเท่านั้น แต่มีเพลง แนว Easy Listening ที่โดดเด่นของค่าย หลังจากนั้น เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง โดยสื่อวิทยุ เป็นสื่อหลักในการฟังเพลงของคนไทย จนมาถึงในปี 2004 ช่อง MTV และ Channel V ซึ่งได้สร้างปรากฏการณ์ที่ไม่เคยมีในวงการทีวีไทย โดยการมี Music Video 24 ชั่วโมง

โดยยุค 2000s เป็นยุคของค่ายเพลง Smallroom เป็นค่ายเพลงอินดี้ที่วางรากฐานให้กับค่ายเพลงอินดี้มาจนถึงทุกวันนี้ เพราะยุค 2000 กำเเพงที่แบ่งระหว่าง อินดี้ กับ Main Stream มันเบลอมาก ๆ ในขณะที่ Main Stream ขยายวงกว้างมากขึ้น ก็มีวัยรุ่นที่มีแนวทางของตัวเอง ที่ถูกเรียกว่า " เด็กแนว " เด็กแนว มันคือ ดนตรี และศิลปะ ในยุคนั้น สะพายย่ามอ่าน ADAY อ่าน มุลาคามิ ฟังคลื่น Fat radio อำนาจในการผลักดันศิลปินในยุคนั้น ตกไปอยู่กับแฟนเพลง โดยในยุคนั้น รายการประกวดร้องเพลง ที่คนดูสามารถโหวตเชียร์ที่ตัวเองชื่นชอบ จึงเกิดขึ้น ทำให้มีศิลปินหน้าใหม่เกิดขึ้นมากมาย ท่ามกลางแนวเพลงที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Rock , Boy Band รวมถึง Hip Hop โดยปลายยุค 90s เป็นยุคที่ Joey Boy ได้สร้างกระแสเอาไว้ พอเข้าสู่ยุค 2000 ไทเทเนี่ยม ออกอัลบั้มชุดแรก แล้ว Hip Hop ของ ไทเทเนี่ยม เป็นแนว New York จ๋า เป็นวัฒนธรรมของ Hip Hop จริง ๆ

จากกระแส Hip Hop ฟีเวอร์ในเวลานั้น สินค้า วัฒนธรรมจากเกาหลีใต้ อย่าง KPOP ก็กลายเป็นกระแส KPOP ฟีเวอร์ แต่วงการเพลงไทยก็ไม่ได้หายไปไหน ค่ายเพลง RS ก็กลับมาปลุกกระแส TPOP อีกครั้ง โดยการมีค่าย Kamikaze นั่นเอง

โดยยุค 2010s - ปัจจุบัน เป็นการเข้ามาของ Social Network ไม่ว่าจะเป็น Rap is now ซึ่งก็ทำให้เรารู้จัก Hip Hop มากขึ้น และยิ่งความต้องการของคนฟังมีหลากหลาย เหล่า Music Streaming Platforms ก็มีมากขึ้น เพราะในเวลานั้นเองแนวเพลง City POP ก็กลายเป็นกระแสขึ้นมาด้วย ในขณะที่วงการเพลงไทยไปได้สวย ทั่วโลกก็หยุดชะงักเพราะสถานการณ์ COVID-19 แต่วงการเพลงไทยก็ไม่หยุดนิ่ง มันทำให้เกิดเพลง Function Tiktok คือ ท่อนฮุก ท่าเต้นที่หลายคนเต้นได้ เพื่อเอาไปเต้นกันใน TIKTOK และวงการซีรี่ส์ Y ของประเทศไทยก็โด่งดังไปทั่วโลก ซึ่งไทยนำเข้าความ Y มาจาก Yaoi หรือ Boys' Love ของ ญี่ปุ่น รวมถึงเพลงประกอบซีรี่ส์ต่าง ๆ ก็ฮิตติดชาร์ตในหลาย ๆ ประเทศ

เพราะโลกใบนี้ ไม่เคยที่หยุดที่จะหาความสร้างสรรค์ต่าง ๆ ใหม่ ที่ซ่อนอยู่ วัฒนธรรม T-POP จึงไม่ได้มีคำนิยามที่ตายตัว แฟนเพลงหลายคน ก็ยังคงชื่นชอบความเป็นตัวของตัวเอง และการแสวงหาแนวทางที่หลากหลายของศิลปิน การเดินทางของศิลปินและผู้ฟังเพลง ก็ยังเปิดเส้นทางใหม่ ๆ ให้วงการเพลงไทยตลอดมา

#TPOP #Gurugunza24